Posted by : Unknown วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558



ยามวัยชรามาเยือนความจำมันก็หลงๆลืมๆ แต่ผู้สูงอายุบางรายถึงกับตกอยู่ในภาวะสมองเสื่อม หรือที่เรียกกันว่า อัลไซเมอร์ หากในครอบครัวไหนมีผู้สูงอายุเป็นอัลไซเมอร์จะต้องยิ่งใส่ใจดูแลพวกท่านเพิ่มทวีคูณ ซึ่งตัวผู้ดูแลเองก็เสี่ยงที่เกิดปัญหาสุขภาพทั้งกายและใจได้ เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมต้องใช้ความอดทนสูงทีเดียว ไหนจะภาระหน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง ไหนจะการรับมือกับอาการสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รศ.ดร.สมชาย เตียวกุล นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา จึงได้แนะนำ 10 วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมอย่างมีสุขภาพดีของสมาคมอัลไซเมอร์ ดังนี้




1.ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้เร็วที่สุด
อาการของโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ จะพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งอาจสังเกตได้จากการที่ผู้ป่วยเริ่มมีความคิด หรือพฤติกรรมแปลกๆ เช่น ลืมข้าวของ ลืมกาน้ำร้อนไว้บนเตาทั้งที่ยังไม่ได้ปิดไฟ ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีอาการเจ็บป่วยทางกายใดๆ ปรากฏขึ้นในระยะนี้ ถ้าปรึกษากับแพทย์จะพบว่า ผู้ป่วยมีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความทรงจำ อารมณ์ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างเกิดขึ้น ดังนั้นไม่ควรรีรอที่จะพาไปพบแพทย์ เนื่องจากอาการบางอย่างสามารถรักษาให้หายได้

2.หาตัวช่วยหาตัวช่วยโดยการติดต่อกับสมาคม
อัลไซเมอร์ในชุมชนที่คุณพักอาศัยอยู่ เพื่อเป็นที่ปรึกษาคอยชี้แนะ หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการต่างๆ เช่น การดูแลผู้ป่วยในเวลากลางวันขณะที่สมาชิกในครอบครัวต้องออกไปทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการนำผู้ป่วยมาฝากไว้ที่ศูนย์ดูแล หรือจะให้มีเจ้าหน้าที่ไปดูแลเป็นการเฉพาะที่บ้าน ตลอดจนบริการอื่นๆ ตามความเหมาะสม

3.ดูแลผู้ป่วยอย่างมีทักษะเมื่ออาการของโรคพัฒนามากขึ้น
ผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความสามารถในการดูแลเพิ่มขึ้นตามลำดับ เช่น การเข้ารับการฝึกอบรมจากสมาคม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโรคสมองเสื่อม เพื่อทำความเข้าใจในตัวผู้ป่วย และปัญหาที่อาจเกิดจากการกระทำของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยมักมีพฤติกรรม และบุคลิกที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากขึ้นตามเวลาที่เปลี่ยนไป

4. ยินดีรับความช่วยเหลือการพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวคนเดียว
อาจทำให้หมดพลังในการดำเนินชีวิต และการดูแลผู้ป่วยได้ ดังนั้น ควรยอมรับความช่วยเหลือ หรือยินดีรับความช่วยเหลือจากญาติตลอดจนองค์กรต่างๆในชุมชนเพื่อช่วยกันดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ซึ่งจะช่วยเบาแรง และไม่เกิดภาวะวุ่นวาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วงที่รู้สึกเครียด

5. ดูแลตัวเองให้แข็งแรงการดูแลตัวเองเป็นสิ่งที่จะมองข้าม หรือละเลยไม่ได้เด็ดขาด
เริ่มจากรับประทานอาหารให้ได้สัดส่วน ออกกำลังกาย และหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการมีสุขภาพดีจะช่วยให้การทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยดี และมีประสิทธิภาพตามไปด้วย

6. ควบคุมระดับความเครียดการฝึกผ่อนคลายด้วยวิธีต่างๆ
เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เป็นสิ่ง ที่มีประโยชน์ เพราะหากปล่อยให้ความเครียดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งทางกาย และใจตามมาได้ เช่น อาการตาพร่ามองอะไรไม่ชัด ไม่มีสมาธิ เบื่ออาหาร หรือรับประทานอาหารมากผิดปกติ เป็นต้น เมื่อมีอาการดังกล่าว ให้สังเกตอาการที่เกิดขึ้นแล้วบันทึกเพื่อนำไปปรึกษาแพทย์  นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุ  และแนวทางการรักษาต่อไป

7. ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีอาการ และพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม
และมักทำตามใจที่ต้องการโดยไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์ใดๆ บางทีอาจจะเรียกร้องเกินกว่าที่จะจัดให้ได้ ซึ่งควรยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และมองหาทรัพยากรในชุมชนที่ให้ความอนุเคราะห์ในเรื่องนั้นๆ ได้ เช่น อาจจะต้องฝากไว้กับสถาบันการรักษาผู้ป่วยในเวลากลางวัน หรือในช่วงเวลาที่ต้องไปทำธุระต่างถิ่น

8. วางแผนการเงิน และกฎหมายให้ดีเมื่อพบว่าพ่อแม่ หรือคนในบ้านป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม
การวางแผนเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสวัสดิการต่างๆ มีระเบียบข้อบังคับ หรือข้อกฎหมายกำหนดกรอบไว้ ทางที่ดีควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางกฎหมาย และการวางแผนการเงินต่างๆ เช่น การจัดทำพินัยกรรม การวางแผนเกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งที่เป็นสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการเหล่านี้ ในช่วงเวลาที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด

9. ให้รางวัลแก่ตัวเองบ้างการรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยนั้น อาจแตกต่างกันไปตามความรู้ และความสามารถของผู้ดูแล
ซึ่งอาจรู้สึกผิดเป็นบางครั้งที่ไม่สามารถ ทำให้ดีกว่านี้ไปบ้าง แต่ไม่ควรโทษ หรือตำหนิตัวเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเครียด และอารมณ์หงุดหงิดตามมาได้

10. ไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอการตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีอาการเหนื่อยล้า หมดแรง นอนไม่หลับ เครียด เบื่ออาหาร หรือทำอะไรผิดพลาดบ่อยขึ้น การละเลยอาการเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ และสุขภาพจิตได้

เมื่อต้องอยู่กับพ่อแม่ที่มีภาวะ "สมองเสื่อม" ความเครียดคือสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่การบริหารจัดการความเครียด และหันมาดูแลสุขภาพให้ดีทั้งทางกาย และจิตใจคือสิ่งสำคัญของการทำหน้าที่ผู้ดูแลอย่างมีประสิทธิภาพครับ





http://family.truelife

Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments

ข่วร้องประจำวัน

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

visitor

- Copyright © ข่าววันนี้ -Metrominimalist- Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -